วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ผีเสื้อ

จัดเป็นแมลงที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสองของจำนวนแมลงทั้งหมด ลักษณะที่สำคัญคือ มีปีกแบบเมมเบรนซึ่งมีเกล็ด (Scales) หรือขน (hairs) ปกคลุมอย่างหนาแน่นจำนวน 2 คู่ การเจริญเติบโตและถอดรูปร่างเป็นแบบสมบูรณ์ ระยะตัวอ่อนมีปากแบบกัดกิน แต่ตัวเต็มวัยมีปากที่มีลักษณะเป็นงวงยาว (siphon)สำหรับดูดน้ำหวาน ตัวอ่อนหลายชนิดเป็นแมลงศัตรูพืช

1.            ผีเสื้อต้นรัก (Milkweed butterflies)
-หนวดเรียบไม่มีเกล็ด ดิสคอลเซลในปีกหลังปิด ปีก หน้า มีเส้นเอนัลที่ 3 ขาคู่หน้าสั้น เป็นผีเสื้อขนาดกลาง ตัวอ่อนเป็นศัตรูที่สำคัญของไม้ดอก เช่น ต้นรัก ต้นยี่โถ ตัวเต็มวัยออกหากินกลางวันเป็นผีเสื้อที่พบได้ทั่วๆไป
2.            ผีเสื้อหนอนเจาะไม้ (Carpenter moths, leopard moths, goat moths)
ลำตัวหนา ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ปีกหุบเข้าหาตัวแบบรูปหลังคาขณะเกาะพัก ปีกมักมีจุดหรือรอยด่างสีเข้มกระจายทั่วปีก ปีกหน้ามีเส้นปีกเอนัล 2 เส้น และมักยาวเป็น 2 เท่าของความกว้าง หนวดแบบฟันหวี ส่วนท้องยื่นเลยปีกไปมาก ตัวอ่อนเป็นศัตรูที่สำคัญทางป่าไม้ โดยเจาะกินเนื้อไม้พวกสักและไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกหลายชนิด บางชนิดก็เจาะทำลายไม้ผล เช่น มะม่วง และบางชนิดเป็นศัตรูสำคัญของกาแฟ ตัวเต็มวัยออกหากินเวลากลางคืน
3.            ผีเสื้อหนอนคืบ (Lopper, measuring worms)
ปีกมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัวที่เรียวและบอบบาง ปีกหลังมีเส้นปีกสับคอสตาหักงอเข้าไปในมุมฮิวเมอรัล ตัวอ่อนมีขาเทียมที่ท้องปล้องที่ 2 และ 10 เวลาเคลื่อนที่ส่วนอกและลำตัวงอขึ้น หลายชนิดเป็นศัตรูที่สำคัญของลำไย มะม่วง ส้ม เงาะ ตัวเต็มวัยออกหากินเวลากลางคืนและบางชนิดชอบบินเข้าหาแสงไฟ

4.         ผีเสื้อปีกใส (clear-winged moths)      
เป็นผีเสื้อที่บินได้รวดเร็ว มักหากินเวลากลางวัน ส่วนใหญ่ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ตัวอ่อนเป็นศัตรูของไม้พุ่มและไม้ใหญ่บางชนิด 


5.           ผีเสื้อหางแฉก (swallow tails)
ปีกหน้ามีเส้นปีก 8-9 เส้น โผล่จากดิสคอสเซล ปีกหลังอาจมีติ่งหาง และมีเส้นปีกเอนัลเพียงเส้นเดียว เป็นผีเสื้อขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ตัวอ่อนหลายชนิดเป็นศัตรูสำคัญของพืชตระกูลส้มเกือบทุกชนิด ตัวเต็มวัยหากินกลางวันพบได้ทั่วๆไปและส่วนมากไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ผีเสื้อหางตุ้มจุดชมพู

5.            ผีเสื้อบินเร็ว (skippers)
ปลายหนวดโค้งงอคล้ายเคียวหรือตะขอ ตัวอ้วนป้อม หัวกว้างเท่าหรือกว้างกว่าส่วนอกเป็นผีเสื้อขนาดกลาง ตัวอ่อนกินพืชหลายชนิด ชอบม้วนใบพืช เช่น ใบกล้วย ใบมะพร้าว ใบข้าว แล้วเข้าไปอาศัยอยู่ภายในพร้อมทั้งกินใบพืชไปด้วย ตัวอย่างเช่น หนอนม้วนใบกล้วย ตัวเต็มวัยบินได้เร็วมากและออกหากินเวลากลางวัน

ด้วง (Beetles)

คิดเป็น 40% ของจำนวนชนิดของแมลงทั้งหมด มีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร ไปจนถึงพวกที่มีขนาดใหญ่กว่า 10 เซนติเมตร
            ลักษณะที่สำคัญคือ มีปากแบบกัดกิน หนวดมีหลายแบบแตกต่างกันตามชนิดของด้วง มีปีก 2 คู่ ปีกคู่หน้าแข็งและหนา (elytra) ปีกคู่หลังเป็นเมมเบรนบางใส ขณะเกาะพัก ปีกคู่หน้าประกบเป็นเส้นตรงอยู่กึ่งกลางลำตัว ปีกคู่หลังพับซ้อนอยู่ใต้ปีกคู่หน้า การเจริญเติบโตและเปลี่ยนรูปร่างเป็นแบบสมบูรณ์ (complete metamorphosis) โดยทั่วไปอาหารและถิ่นอาศัยของระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยไม่แตกต่างกันมากมาย มีทั้งพวกที่อาศัยบนบกและอาศัยในน้ำ หลายชนิดกินพืช บางชนิดกินซากสิ่งเน่าเปื่อย บางชนิดกินไม้ บางชนิดเป็นตัวล่าเหยื่อ (predator) ที่ดีมาก บางชนิดกินธัญพืช ฯลฯ
1.            ด้วงน้ำ (Crawling water beetles)
คอกซาของขาคู่หลังเป็นแผ่นใหญ่ปิดส่วนท้องเกือบมิด ตัวเล็กประมาณ 5 มิลลิเมตร
2.            แมลงเหนี่ยง (Water scavenger beetle)
อกด้านล่างมีหนามยาวคล้ายศร หนวดแบบลูกตุ้มสั้นกว่าแมกซิลลารีพัลไพ ทุกระยะอาศัยอยู่ในน้ำ กินสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร พบได้ทั่วๆไป
3.            ตับเต่า (Predaceous diving beetles)
ไม่มีศรที่ท้อง หนวดแบบเส้นด้าย (Filiform) ยาวกว่าแมกซิลลารีพัลไพ ทุกระยะอาศัยอยู่ในน้ำ พบทั่วไปตามแหล่งน้ำต่างๆ ปกติว่องไวมาก กินสัตว์เล็กหรือใหญ่กว่าเป็นอาหาร
4.      ด้วงดิน (Ground beetles)
หนวดโผล่จากจุดระหว่างตาและฐานของกราม ส่วนหัวมักแคบกว่าอกปล้องแรกเล็กน้อย ส่วนใหญ่อาศัยตามผิวดิน ใต้หิน ท่อนซุง ใบไม้ เปลือกไม้ ขนาดแตกต่างกันมาก จับสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร แมลงตด สามารถปล่อยสารสำหรับป้องกันตัวประเภทออกไซด์ของไนโตรเจนออกมา เมื่อถูกผิวจะไหม้คล้ายถูกกรดไนตริค
5.            ด้วงงวง (Snout beetles)
หัวยื่นยาวออกมาคล้ายวงหนวดแบบข้อศอกยาวโผล่จากด้านข้างของงวง อาศัยอยู่บนพื้นดิน
6.            มอดแป้ง (Darkling beetles, red flour beetles)
ฐานคอกซาของขาคู่หน้าชิดกัน เล็บไม่เป็นง่าม ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ 2-35 มิลลิเมตร อาศัยบนบก มีถิ่นอาศัยแตกต่างกันตามชนิด พบได้มากทั้งชนิดและจำนวน รูปร่าง และสีแตกต่างกันมาก
7.            ด้วงเต่า (Lady Bird beetles)
เล็บมีลักษณะเป็นฟันหรือง่าม ทาร์ไซเห็นชัดแบบ 3-3-3 ส่วนหัว อยู่ใต้อกปล้องแรก ตัวนูนสีสดใส หนวดสั้นมาก อาศัยบนบก ส่วนมากกินพืชเป็นอาหาร แต่มีบางชนิดที่เป็นศัตรูพืช ได้แก่ ด้วงเต่ามะเขือ บางชนิดกินสัตว์ขนาดเล็ก
8.            ด้วงหนวดยาว (Long horned beetles)
หนวดยาวกว่าลำตัวมาก ลำตัวแคบและยาวเรียว ตาเว้า อาศัยบนบก กินพืชและสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร
9.            ด้วงก้นกระดก (Rove beetles)
ปีกแข็งสั้นมาก คลุมส่วนท้องไม่มิด หนวดแบบเส้นด้ายหรือลูกตุ้ม กรามยาวยื่นออกไปข้างนอก อาศัยอยู่ตามผิวดินกินซากเน่าเปื่อยเป็นอาหาร ชอบหลบซ่อนตามที่มืด มักจะกระดกส่วนท้องขึ้นลง บางชนิดเป็นพาหะนำโรคพยาธิในสัตว์เลี้ยงบางชนิด
10.            แมลงทับ (Woodborer, metallic beetles)
อกด้านล่างของปล้องแรกติดแน่นกับอกปล้องกลาง ไม่มีอวัยวะสำหรับดีด ลำตัววาวแววเป็นมันมีสีต่างๆ อาศัยบนบก ตัวอ่อนบางชนิดเป็นศัตรูสำคัญของป่าไม้ โดยเจาะเป็นอุโมงค์เข้าไปหลบซ่อนในเนื้อไม้หรือเปลือกไม้
11.            ด้วงกว่าง, ด้วงมะพร้าว (scarab beetles)
หนวดรูปใบไม้ประกบกันสนิท ขนาดตั้งแต่เล็กมากถึงใหญ่มาก อาศัยบนบก เป็นด้วงที่พบได้มากทั้งชนิดและจำนวนมีการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันมาก บางชนิดกินมูลสัตว์หรือซากพืชซากสัตว์บางชนิดกินพืช

หมัด

หมัด 

         

หมัด (flea) อยูในอันดับไซโฟแนพเทรา (Order  Siphonaptera)  
         - ตัวเต็มวัยมีลำตัวแบนข้างและแข็ง  หนวดสั้นเข้มอยู่ในร่องของส่วนหัว ไม่มีปีก  ไม่มีตารวม มีแต่ตาเดี่ยว ปากแบบแทงดูด  ขาคู่หลังเป็นขากระโดดทำให้เคลื่อนไหวได้รวดเร็ว ตรงบริเวณคอมีแผงขนเป็นเส้นคล้ายหวี (ctenidia) ซึ่งใช้เป็นลักษณะสำคัญในการจำแนกวงศ์

                    - เป็นตัวเบียนภายนอกของสัตว์หลายชนิด  อาจวางไข่ตามรังหรือพื้นดินใกล้สัตว์อาศัย ตัวอ่อนคล้ายตัวหนอนมีปากแบบกัดกิน กินซากอินทรีย์หรือสิ่งปฏิกูลจากตัวสัตว์  ดักแด้มีเกราะหุ้ม  เป็นพาหะนำกาฬโรค ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียพวก พาสเตอร์เรลลา เพสทิส (Pasteurella pestis) และบางชนิดยังเป็นเจ้าเรือนที่อาศัย (intermediate host) ของพยาธิตัวแบนบางชนิดและสามารถแพร่เข้าสู่คนได้

หมัด

                 - หมัดมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการในการดำรงชีวิตรอด เช่น 
1. การมีลำตัวแบนทำให้ยากแก่การที่แมลงถูกเบียนจะกำจัดออก (defensive shape)     
2. ขาคู่หลังซึ่งเป็นขากระโดดช่วยให้เคลื่อนไหวได้ดี ช่วยในการล่าเหยื่อ 
3. ผนังลำตัวที่แข็งและขนาดเล็กช่วยลดอันตรายที่อาจเกิดจากศัตรูธรรมชาติ 
4.การขยายพันธุ์จึงมักเป็นไปอย่างรวดเร็ว  

                   และเมื่อเจ้าเรือนมีเชื้อกาฬโรค     ก็จะทำให้เชื้อนี้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วด้วย โรคกาฬโรคมีหลายชนิด แต่ที่นับว่าร้ายแรงและมีหมัดเป็นพาหะได้แก่ กาฬโรคที่เรียกว่าบูโบนิค (bubonic plague) หรือที่เคยเรียกกันว่า "ไข้ดำ" (black disease or black death)   หมัดบางชนิดมีความเฉพาะเจาะจงต่อเจ้าเรือนสูงมาก เช่น อาศัยได้ในเจ้าเรือนเพียงชนิดเดียว (monoxenous)  บางชนิดก็สามารถอาศัยในเจ้าเรือนหลายชนิด (polyxenous) (ปัญหาของการเลี้ยงสัตว์หลายชนิด)


มวน

มวนเข็ม (water  boatman)  หัวยาวเท่าหรือยาวกว่าอก  ลำตัวยาวเรียวมาก อาศัยอยู่ในน้ำ  จับสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร  บางชนิดอาจชอบบินเข้าเล่นไฟเวลากลางคืน  ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
รูปที่ 1 แสดงภาพมวนเข็ม

มวนจิ้งโจ้น้ำใหญ่ (water  striders)  : ฟีเมอร์ของขาคู่หลังยื่นเลยปลายท้อง  ทาร์ไซ  2-2-2  ปากมี  4  ปล้อง อาศัยอยู่ในน้ำ  จับสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร  ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
รูปที่ 2 แสดงภาพมวนจิ้งโจ้น้ำใหญ่

จิ้งโจ้น้ำเล็ก (veliis) : ฟีเมอร์ของขาหลังไม่ยื่นเลยส่วนท้อง  ปากมี  3  ปล้องอาศัยอยู่ในน้ำ  จับสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร  ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
รูปที่ 3 แสดงภาพมวนจิ้งโจ้น้ำเล็ก

เพลี้ย

เพลี้ยกระโดด (spittle = น้ำลาย; bugs or frog hopper): ปลายทิเบียของขาคู่หลังมีหนามรวมเป็นกระจุก
-          เป็นแมลงขนาดเล็กไม่เกิน 1/2 นิ้ว หลายชนิดเป็นศัตรูสำคัญของพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ เพลี้ยกระโดดดำ ซึ่งเป็นสัตรูสำคัญขอองข้าวโพด ฯลฯ
รูปที่ 1 แสดงภาพเพลี้ยกระโดด

เพลี้ยแป้ง (mealy bugs): ลำตัวมีฝุ่นคล้ายแป้งปกคลุม ขนาดเล็กไม่เกิน 5 มม.
-          เป็นศัตรูสำคัญของไม้ผลหลายชนิด เช่น น้อยหย่า มะม่วง ลำไย พุทรา พืชไร่พวก มะพร้าว เป็นแมลงศัตรูที่ก่อความเสียหายต่อพืชเศรษฐกิจมาก
รูปที่ 2 แสดงภาพเพลี้ยกระแป้ง


          
เพลี้ยอ่อน (plant lice): 
เกือบปลายของส่วนท้องมีคอร์นิเนลคู่เป็นแมลงขนาดเล็ก มีทั้งพวกมีปีกและไม่มีปีก พวกไม่มีปีกสืบพันธุ์แบบพาธีโนจีนีซีส (parthenogenesis) จึงขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว และมักอยู่รวมกันเป็นลุ่ม เป็นศัตรูที่สำคัญของพืชเศรษฐกิจหลายชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ถั่ว ผัก ไม้ผลต่างๆ ฯลฯ
รูปที่ แสดงภาพเพลี้ยอ่อน



จักจั่น

จักจั่น (cicadas): มีตาเดี่ยว 3 ตา เรียงเป็นรูปสามเหลี่ยม ปีกบางใสเห็นเส้นปีกชัด
-          เป็นแมลงขนาดใหญ่ ไม่ต่ำกว่า 1 นิ้ว วางไข่ตามต้นไม้ ขณะที่เป็นตัวอ่อนจะลงมาอาศัยตามพื้นดิน และกลับขึ้นสู่ต้นไม้เมื่อเป็นตัวเต็มวัย มีวงชีพยาวนาน 3-10 ปี

รูปที่ 1 แสดงภาพจักจั่น

จักจั่นงวง (plant hopper): หนวดโพล่จากด้านข้างของส่วนหัว ใต้หรือหลังตารวม ปลายปีกคู่หลังบริเวณเอนัสมีเส้นขวางปีกจำนวนมาก บางชนิดส่วนของหัวยื่นออกไปข้างหน้าคล้ายงวง
-          เป็นแมลงที่มักมีสีฉูดฉาด กินพืชเป็นอาหาร ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจนัก มักพบตามบริเวณที่มีความชื้น
รูปที่ 2 แสดงภาพจักจั่นงวง



จักจั่นเขา (tree hopper): อกปล้องแรกขยายคลุมส่วนท้อง (similar to what family in Orthoptera) ตัวยาวประมาณ 10-12 มม.
-          เป็นแมลงที่กินพืชเป็นอาหาร แต่ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจนัก
รูปที่ 3 แสดงภาพจักจั่นเขา



ยุง



            ยุง เป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลกแต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น จากหลักฐานทางฟอสซิลสามารถสันนิษฐานได้ว่า ยุงมีในโลกตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์เมื่อประมาณ 38-54 ล้านปีมาแล้ว โดยปกติตัวเมียมักจะกินเลือดเป็นอาหาร ส่วนตัวผู้มักจะกินน้ำหวาน นอกจากนี้ยังเป็นแมลงที่เป็นพาหะแพร่เชื้อโรคอีกด้วย  เช่น   ไข้เลือดออก  ยุงตัวเมียจะมีอายุประมาณ 1-3 สัปดาห์ ขึ้นกับชนิดและสภาพแวดล้อม ส่วนตัวผู้จะมีอายุประมาณ 4-5 วัน จะตายหลังจากผสมพันธุ์เสร็จ ยุงทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 3,450 ชนิด พบในประเทศไทย ประมาณ 412 ชนิด แต่ที่คุ้นเคยกันดีคือ   ยุงก้นปล่อง   (Anopheles)   ยุงลาย  (Aedes)





ลักษณะของยุง
   ยุงเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กโดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาว 4-6 มิลลิเมตร บางชนิดมีขนาดเล็กมาก 2-3 มิลลิเมตร และบางชนิดอาจยาวมากกว่า 10 มิลลิเมตร
        ยุงมีส่วนหัว อก และท้อง มองเห็นได้อย่างชัดเจนและสามารถแยกออกจากแมลงชนิดอื่น ได้อย่างง่ายๆ โดยสังเกตจากรูปพรรณสัณฐาน ดังต่อไปนี้คือ มีปากคล้ายงวง ยื่นยาวออกไปข้างหน้า และมีปีกสำหรับบิน 1 คู่ ยุงมีส่วนหัว อก และท้อง มองเห็นได้อย่างชัดเจนและสามารถแยกออกจากแมลงชนิดอื่น ได้โดยสังเกตจากรูปพรรณสัณฐาน ดังต่อไปนี้คือ มีปากคล้ายงวง ยื่นยาวออกไปข้างหน้า และมีปีกสำหรับบิน 1 คู่

 วงจรชีวิติของยุง จะมี 4 ระยะ
              ได้แก่ ระยะเป็นไข่ (egg stage) ระยะตัวอ่อน (larva stage) ระยะเป็นดักแด้(pupa stage) และระยะตัวเต็มวัย (adult stage) ซึ่งยุงจะมีวงจรชีวิต 9-14 วัน ตัวเมียอายุประมาณ 1-3เดือน ตัวผู้อายุประมาณ 6-7 วัน ยุงแต่ละตัววางไข่ได้ 3-4 ครั้ง จำนวน 50-300 ฟองต่อครั้ง ยุงตัวเมียเมื่ออายุได่ 2-3 วันจึงเริ่มออกหากินเลือดคนหรือสัตว์ เพื่อนำเอาโปรตีนและแร่ธาตุไปใช้สำหรับการเจริญเติบโตของรังไข่ ส่วนยุงตัวผู้จะดูดน้ำหวานเพื่อดำรงชีวิต หลังจากดูดเลือดเมื่อไข่สุกเต็มที่ ยุงตัวเมียจะหาแหล่งน้ำที่เหมาะสมในการวางไข่ หลังจากวางไข่แล้วยุงตัวเมียก็ออกดูดเลือดใหม่และวางไข่ได้อีก




การป้องกันยุงกัด
        การป้องกันยุงกัดเป็นวิธีที่สามารถลดความรำคาญที่เกิดจากยุงและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่มียุงเป็นพาหะ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การนอนในมุ้งหรือมุ้งชุบสารเคมีฆ่าแมลง การติดตั้งมุ้งลวด การสุมควันไฟไล่ยุง  การจุดยากันยุง  และการทาสารเคมีไล่ยุง (repellent) เช่น น้ำมันตะไคร้หอม หรือสารสังเคราะห์ เช่น DEET (diethyltoluamide)

การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์
        การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์เป็นวิธีที่สามารถลดจำนวนยุงที่มากัดได้วิธีหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของแหล่งเพาะพันธุ์ ที่สามารถทำได้ง่าย ได้แก่
1.            การดูแลโอ่งน้ำและภาชนะน้ำขังตามบ้านเรือน เพื่อควบคุมยุงลาย (Ae. aegypti)
2.            หรือการระบายน้ำตามท้องร่องไม่ให้ขังหรือเน่าเสีย เพื่อควบคุมยุงรำคาญ (Cx. quinquefasciatus)
3.            การปล่อยปลาที่กินยุงหรือใช้สารเคมีฆ่าแมลง เช่น Abate ใส่ลงในภาชนะต่าง ๆ
แต่ในแหล่งเพาะพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่หรือกว้างขวาง เช่น ในท้องนา ลำธาร หรือกระบอกไม้ในป่า การควบคุมลูกน้ำยุงจะทำได้ยากมากหรือควบคุมไม่ได้เลย

การควบคุมตัวยุง
        การควบคุมตัวยุง หมายถึงการทำให้ความหนาแน่นของยุงลดลง โดยการใช้วิธีการต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาอาศัยสารเคมีฆ่าแมลง โดยอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.          การลดจำนวนยุงที่ก่อความรำคาญ ส่วนใหญ่กระทำในครัวเรือน โดยการใช้สารเคมีฆ่าแมลงที่หาซื้อได้ตามท้องตลาด หรือการใช้กับดักแสงไฟฆ่ายุง
2.         การลดจำนวนยุงพาหะ มักกระทำในวงกว้างเมื่อเกิดมีการระบาดของโรค เช่น การพ่นสารเคมีฆ่าแมลงชนิดฝอยละอองเพื่อลดจำนวนยุงลาย การพ่นสารเคมีฆ่าแมลงชนิดตกค้างในบ้านเรือนและการใช้มุ้งชุบสารเคมีฆ่าแมลงเพื่อควบคุมมาลาเรีย เป็นต้น












มด

มด


           คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับมด เนื่องจากมดสามารถพบอาศัยได้ทุกแห่งทุกหน แต่มีคนไม่มากนักที่รู้เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของมด ส่วนใหญ่รู้จักมดในฐานะเป็นศัตรูหรือสิ่งที่น่ารำคาญที่ไม่มีคุณค่าอะไร เป็นความจริงว่า มดบางชนิดเป็นศัตรู (pest)ตัวอย่างเช่น มดที่อยู่ในบ้านหรือพวกที่กัดเมล็ดพืช และบางชนิดจะป้องกันแมลงพวกดูดกินน้ำเลี้ยง มดบางชนิดกัดและต่อย ทำให้เป็นการยากที่จะหันมาสนใจมดเนื่องจากมดมีขนาดเล็กและดูผิวเผินคล้ายกันมาก ไม่เหมือนกับพวกผีเสื้อ น่าสนใจและสวยงามมากกว่า
 
          อย่างไรก็ตาม มดมีการจัดระบบภายในสังคมและพฤติกรรมเหมือนๆ กัน มดทั้งหมดจัดอยู่ในวงศ์ Formicidae เพียงวงศ์เดียวเท่านั้น อยู่ในอันดับ Hymenoptera เช่นเดียวกับพวกผึ้ง ต่อ แตน ลำตัวมดมีสีแตกต่างกัน ได้แก่ สีแดง สีดำ และสีน้ำตาล มีขนาดแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด ระหว่าง 1-20 มม. ลักษณะของมดที่แตกต่างจากแมลงอันดับอื่นๆ คือ ปล้องท้อง ปล้องที่ 1 เชื่อมติดกับอกปล้องที่ 3 ซึ่งจะเรียกว่า propodeumบางชนิดบริเวณนี้จะมีหนาม 1 คู่ มดมีเอวที่เกิดจากปล้องท้องปล้องที่ 2 เพียงปล้องเดียวหรือจากปล้องท้องที่ 2 และปล้องท้องที่ 3 อาจเป็นก้านหรือเป็นปุ่ม ขึ้นอยู่กับชนิดของมด เป็นลักษณะที่ไม่พบในพวกต่อสน (sawfiles)
           ส่วนลักษณะอื่นๆ ที่ใกล้ชิดกับพวกผึ้ง ต่อ แตน คือ อวัยวะวางไข่ซึ่งลดหน้าที่ลงไป ปกติจะใช้ในการวางไข่ แต่ในแมลงกลุ่มนี้จะดัดแปลงเป็นเหล็กใน (sting organ) ใช้ในการป้องกันตัว ถึงแม้ว่าปลวกซึ่งเรียกว่า white ant หรือมดขาวเป็นแมลงสังคมเช่นกัน แต่ก็แตกต่างจากมดทั้งทางด้านลักษณะสัณฐานและพันธุกรรม ปลวกจัดอยู่ในอันดับ Isoptera มีความใกล้ชิดกับพวกแมลงสาบ ส่วนมดนั้นใกล้ชิดกับต่อ แตน

   รูปร่างทั่วไปของมด
           ลักษณะภายนอกของมดโดยทั่วไปก็เหมือนกับแมลงกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ลำตัวแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง แต่ที่พิเศษแตกต่างไปจากแมลงกลุ่มอื่นเพิ่มขึ้นมาก็คือ มีเอว (waist) แต่ละส่วนจะมีอวัยวะและลักษณะต่างๆ ปรากฏซึ่งจะแตกต่างไปตามแต่ละชนิด

       ส่วนหัว
       เป็นส่วนแรกของลำตัว มีรูปร่างหลายแบบ เช่น ห้าเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม วงรี หรือหัวใจ เป็นที่ตั้งของอวัยวะที่สำคัญบางชนิด ได้แก่
          -  หนวด ( Feeler )เป็นลักษณะหนึ่งที่แตกต่างไปจากแมลงกลุ่มอื่น คือ เป็นแบบหักข้อศอก (geniculate) โดยทั่วไปจำนวนปล้องหนวดของมดงานอยู่ในช่วง 4-12 ปล้อง ส่วนใหญ่มี 12 ปล้อง ปล้องแรกเรียกว่า ฐานหนวด (scape) มีลักษณะค่อนข้างยาวกว่า ปล้องที่เหลือรวมกัน พบได้ในมดงานและราชินี ส่วนเพศผู้ ส่วนมากมีฐานหนวดสั้นมากกว่าปล้องที่เหลือรวมกัน ปล้องที่เหลือ
             จากฐานหนวดเรียกว่า ปล้องหนวด (funiculus) มีจำนวน 3-11 ปล้อง แต่ละปล้องโดยทั่วไปสั้นกว่ามากเมื่อเทียบกับฐานหนวด หนวดส่วนใหญ่ทำหน้าที่ในการสื่อสารต่างๆ จัดเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในการรับความรู้สึก
          -  ตา ( Eye ) แบ่งออกได้เป็นตาเดี่ยวกับตารวม มดส่วนใหญ่จะมีตารวม บางชนิดไม่มีตารวม ตั้งอยู่บริเวณส่วนหน้าหรือด้านข้า ของส่วนหัว มีขนาดตั้งแต่เป็นจุดเล็กๆจนถึงขนาดใหญ่ ส่วนมากเป็นรูปวงกลม มีบ้างที่เป็นรูปวงรีหรือรูปไต มีหน้าที่สำหรับการมองเห็น ส่วนตาเดี่ยว โดยทั่วไปมี 3ตา อยู่เหนือระหว่างตารวม ส่วนมากพบในเพศผู้และราชินี สำหรับมดงานพบมากในมดเขตหนาวไม่ได้ใช้ในการมองเห็น
          - ปาก (Pincher) มดมีปากแบบกัดกิน (chewing type) มีกรามที่แข็งแรงและขนาดใหญ่ เป็นส่วนที่เห็นชัดที่สุดของปากรูปสามเหลี่ยม กึ่งสามเหลี่ยม หรือเป็นแนวตรง ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญในการจับเหยื่อและป้องกันตัว ทำให้มดส่วนใหญ่เป็นพวกกินสัตว์ อย่างไรก็ตาม มดก็มีอวัยวะที่ใช้ในการดูดน้ำหวานด้วยเช่นกัน


         ส่วนอก

           เป็นส่วนที่สองของลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก อกของมดจะไม่ใช้คำว่า thorax แต่จะใช้ alitrunk แทน เนื่องจากอกของมดประกอบด้วย อกปล้องแรก อกปล้องที่สอง และอกปล้องที่สาม แต่อกปล้องที่สามนี้จะรวมกับท้องปล้องที่หนึ่ง ซึ่งเรียกว่า propodeum ส่วนอกจะเป็นที่ตั้งของส่วนขาและปีก (สำหรับราชินีและเพศผู้) มดงานจะมีส่วนอกปกติ ยกเว้นราชินีอกมีขนาดใหญ่กว่าปีก จะพบในมดเพศผู้และราชินีเท่านั้น มดบางชนิดสันหลังอกและอกปล้องที่สองเชื่อมติดกัน เช่นเดียวกับอกปล้องที่สามกับท้องปล้องที่หนึ่ง มดบางชนิดสันหลังอกมีหนามหรือตุ่มหนาม บางชนิดอาจเป็นแผ่นคล้ายโล่ห์ ขาของมดส่วนมากค่อนข้างยาว ทำให้ ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วว่องไวมาก ความยาวของขาและรูปร่างของขามดนั้นจะถูกกำหนดโดยพฤติกรรมต่างๆ

        ส่วนเอว
            เป็นส่วนที่สามของมด คือ petiole เป็นปล้องที่สองของส่วนท้อง อาจเป็นก้าน ปุ่ม หรือแผ่น ส่วนถ้ามีสองปล้องคือ petiole กับ post petiole เป็นปล้องที่สองกับปล้องที่สาม postpetiole อาจเป็นปุ่มหรือรูปทรงกระบอกก็ได้ มดบางชนิด petiole อาจมีหนาม 1 คู่

        ส่วนท้อง
            เป็นส่วนท้ายของลำตัวมด เรียกว่า gaster โดยทั่วไปมีรูปร่างทรงกลม แต่บางชนิดเป็นรูปหัวใจหรือทรงกระบอก ปลายส่วนท้องของมดงานส่วนใหญ่มีเหล็กไน บางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ สำหรับชนิดที่ไม่มีเหล็กไนก็จะเป็นช่องเปิดเล็กๆสำหรับขับสารป้องกันตัวออกมา