วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

เเหล่งที่พบเเมลงต่างๆในมหาวิทยาลัยศิลปากร

เเหล่งที่พบเเมลงต่างๆในมหาวิทยาลัยศิลปากร
‎1. แมลงสามง่าม พบเจอตามกองหนังสือเก่าๆ ที่มีเศษกระดาษ เศาผ้าชอบหลบตัวอยู่ตามนี้ มักพบตามกองชีสต่างๆที่นักศึกษาเตรียมให้รุ่นน้อง2. แมลงปอ พบเจอตามเเหล่งน้ำและพื้นที่โล่งๆเพราะตัวอ่อนเเมลงปออาศัยอยู่ตามเเหล่งน้ำ เเละเเมลงปอเป็นสัตว์ที่ผสมพันธุ์อยู่ในพื้นที่โล่งๆ3. พวกตั๊กแตน จิ้งหรีด แมลงสาบ พบบริเวณเเถวเกาะนก สวนสมุนไพร สนามฟุตบอลหรือตามบริเวณที่มีทุ่งหญ้าขึ้นเยอะ
4. ปลวก พบบริเวณที่มีแหล่งน้ำ มีความชื้น เเละมีไม้เยอะ เช่นตามกองไม้ พบบริเวณหอพักในมหาวิทยาลัยเพราะมีโต๊ะ ตู้ ที่ทำจากไม้
5. เหานก พบตามตัวนกทั่วไปที่อยู่ภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร
6. เหาคน พบตามศีรษะผู้คนที่อาศัยอยู่ในมหาวิทยาลัยศิลปากร
7. มวน พบเเถวสวนสมุนไพร เกาะนก สวนบริเวณคณะอักษรศาสตร์ ชอบอยู่พื้นที่ที่มีต้นไม้เเละพุ่มไม้ เเละเป็นพื้นที่ที่มีต้นหญ้าขึ้นจำนวนมาก
8. เพลี้ย เเหล่งที่พบจะเป็นพื้นที่เดียวกับมวนเเละพอเวลาฝนตกเพลี้ยจะเข้ามาเล่นไฟ
9. หมัด พบตามตัวสุนัขที่อยู่ในมหาวิทยาลัยศิลปากร
10. ด้วง เเหล่งที่พบบริเวณที่เดียวกับมวนเเละหลังหอ เพราะด้วงบางชนิดชอบกินซากขยะ โดยเฉพาะเเหล่งทิ้งขยะตามหอ
11. ผีเสื้อและมอธ ผีเสื้อจะพบตามบริเวณที่มีดอกไม้เยอะๆ เพราะกินน้ำหวานเป็นอาหาร เช่นต้นไม้ในคณวิทยาศาสตรื สวนสมุนไพร เกาะนก สวนที่คณะอักษรศาสตร์ ส่วนมอธจะพบบริเวณกลางคืนบริเวณหอพักในมหาวิทยาลัยชอบบินมาเกาะอยู่นิ่งๆตามฝาผนัง
12. พวกแมลงวัน ยุง พบได้ทุกที่ในมหาวิทยาวิทยาลัยศิลปากร โดยเฉพาะในโรงอาหาร หรือตามเเหล่งขยะ
13. พวกผึ้ง ต่อ แตน มด พบได้ทุกที่ในมหาวิทยาวิทยาลัยศิลปากร เพราะปีกมีวิวัฒนาการดีบินได้เร็วเเละไกล เเต่สิ่งที่พบบ่อยๆคือบริเวณเเหล่งที่มีของหวานๆ

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

วิธีจับและเซตแมลง



วิธีจับแมลง



วิธีเซตแมลง

การเก็บตัวอย่างแมลง

การจับแมลง 





-สวิงจับแมลง(Sweep nets) 

ลักษณะเป็นถุงผ้ากรวยขนาดใหญ่มีด้ามถือ ขนาดลวดทำขอบประมาณเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3 เซนติเมตร ขดเป็นวงเส้นผ่าศูนย์กลาง 30-35เซนติเมตรถุงผ้าที่ใช้ควรมีลักษณะโปร่ง เนื้อละเอียด ความลึกถุงประมาณ 60-70 เซนติเมตร ด้ามถือควรมีลักษณะเบา กลม ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร วิธีการใช้จับแมลง โฉบแล้วสบัดถุงให้พับปิดเพื่อมิให้แมลงลอดออกได้






-เครื่องดูดแมลง(Aspirators) 
ประกอบด้วยขวด หลอดทดลอง หรือท่อแก้ว ที่จุกอุดมีรู 2 รู รูหนึ่งใช้สอดท่อแก้วหรือท่อยาง สำหรับดูด ฉะนั้นปลายด้านหนึ่งต้องด้วยผ้าหรือตะแกรง ส่วนอีกรูใช้เป็นทางเข้า จะสอดด้วยท่อแก้วหรือท่อยางขนาดยาว ใช้กับแมลงที่มีขนาดเล็ก เช่น เพลี้ยจักจั่น แมลงวันขนาดเล็ก

-กับดักแมลง(Traps) 
ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนกับดัก ตัวล่อ และส่วนที่ทำให้แมลงติดกับดัก ตัวล่อมีหลายประเภท เช่น แสง เหยื่อ และสารเคมี ส่วนที่ทำให้แมลงติดกับ เช่น สารเหนียว สารฆ่าแมลง

-กรวยแบบเบอร์ลิส(Berlese type funnel)


-บีตติ้งเน็ต(Beating net)
ฯลฯ



การฆ่าแมลง



ใช้ขวดฆ่าแมลง โดยใช้สารฆ่าแมลงแบ่งได้ 2 ชนิด คือ
-โปแตสเซี่ยมไซยาไนด์ (Potassium cyanide)
-เอททิลอาซีเตต (Ethyl acetate)







การเก็บแมลง 





 มี 2 ประเภท คือ การเก็บแบบชั่วคราว และถาวร
การเก็บแบบถาวรมี 3 ประเภท คือ การเก็บแห้ง การดองในน้ำยา และการทำสไลด์


-การเก็บแห้ง
เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด โดยใช้เข็มปักแมลงทางสันหลังทะลุด้านล่าง โดยหัวเข็มหมุดอยู่ห่างจากตัวแมลง 1 เซนติเมตร
การจัดแมลง แมลงขนาดใหญ่ให้กางปีกออกให้ขอบล่างปีกคู่แรกตั้งฉากลำตัว แมลงขนาดเล็ก ให้ใช้สามเหลี่ยม ความสูง 8-10 มิลลิเมตร ความกว้าง 3-4 มิลลิเมตร
ป้ายบันทึกแมลง บอกสถานที่เก็บแมลง วันที่ และชื่อผู้เก็บ
ทำให้แมลงอ่อนตัว ใช้โหลชื้นบรรจุทรายเปียกผสมกรดคาร์โบลิค ประมาณ 1-2 วัน
เก็บแห้งตัวหนอน ฆ่าหนอนในน้ำเดือด ตัดปลายรีดเอาของเหลวออก และเป่าตัวหนอน

-การดองในน้ำยา
น้ำยาที่นิยมที่สุดคือ เอทิลแอลกอฮอล์ 70-75% เพื่อป้องกันสีซีด และรูปร่างเปลี่ยนแปลง ควรทำการฆ่าตัวอ่อนก่อนดองด้วย น้ำเดือด น้ำยา K.A.A.D. น้ำยา X.A หรือ น้ำยา Kahle แล้วนำมาดองด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ 70-75% มีผู้นิยมผสม glycerine ลงไป 10% เพื่อช่วยรักษาความชื้นและป้องกันแมลงหัก เปราะ

-การทำสไลด์
ใช้กับแมลงที่มีลำตัวอ่อน หรือมีขนาดเล็ก การทำสไลด์ ต้องเอาของที่อยู่ในลำตัวออกให้หมด จัดวางลงสไลด์ซึ่งหยดน้ำยาฮอยเออร์ หรือแคนาดา บาลซัม หรือ กัมอาราบิค ปิดด้วยแผ่นสไลด์



สำหรับผู้ที่สนใจอย่างละเอียด สามารถเข้าไปดูวิธีการการสตัฟฟ์ตัวอย่างแมลง ได้ที่นี่