วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

เเหล่งที่พบเเมลงต่างๆในมหาวิทยาลัยศิลปากร

เเหล่งที่พบเเมลงต่างๆในมหาวิทยาลัยศิลปากร
‎1. แมลงสามง่าม พบเจอตามกองหนังสือเก่าๆ ที่มีเศษกระดาษ เศาผ้าชอบหลบตัวอยู่ตามนี้ มักพบตามกองชีสต่างๆที่นักศึกษาเตรียมให้รุ่นน้อง2. แมลงปอ พบเจอตามเเหล่งน้ำและพื้นที่โล่งๆเพราะตัวอ่อนเเมลงปออาศัยอยู่ตามเเหล่งน้ำ เเละเเมลงปอเป็นสัตว์ที่ผสมพันธุ์อยู่ในพื้นที่โล่งๆ3. พวกตั๊กแตน จิ้งหรีด แมลงสาบ พบบริเวณเเถวเกาะนก สวนสมุนไพร สนามฟุตบอลหรือตามบริเวณที่มีทุ่งหญ้าขึ้นเยอะ
4. ปลวก พบบริเวณที่มีแหล่งน้ำ มีความชื้น เเละมีไม้เยอะ เช่นตามกองไม้ พบบริเวณหอพักในมหาวิทยาลัยเพราะมีโต๊ะ ตู้ ที่ทำจากไม้
5. เหานก พบตามตัวนกทั่วไปที่อยู่ภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร
6. เหาคน พบตามศีรษะผู้คนที่อาศัยอยู่ในมหาวิทยาลัยศิลปากร
7. มวน พบเเถวสวนสมุนไพร เกาะนก สวนบริเวณคณะอักษรศาสตร์ ชอบอยู่พื้นที่ที่มีต้นไม้เเละพุ่มไม้ เเละเป็นพื้นที่ที่มีต้นหญ้าขึ้นจำนวนมาก
8. เพลี้ย เเหล่งที่พบจะเป็นพื้นที่เดียวกับมวนเเละพอเวลาฝนตกเพลี้ยจะเข้ามาเล่นไฟ
9. หมัด พบตามตัวสุนัขที่อยู่ในมหาวิทยาลัยศิลปากร
10. ด้วง เเหล่งที่พบบริเวณที่เดียวกับมวนเเละหลังหอ เพราะด้วงบางชนิดชอบกินซากขยะ โดยเฉพาะเเหล่งทิ้งขยะตามหอ
11. ผีเสื้อและมอธ ผีเสื้อจะพบตามบริเวณที่มีดอกไม้เยอะๆ เพราะกินน้ำหวานเป็นอาหาร เช่นต้นไม้ในคณวิทยาศาสตรื สวนสมุนไพร เกาะนก สวนที่คณะอักษรศาสตร์ ส่วนมอธจะพบบริเวณกลางคืนบริเวณหอพักในมหาวิทยาลัยชอบบินมาเกาะอยู่นิ่งๆตามฝาผนัง
12. พวกแมลงวัน ยุง พบได้ทุกที่ในมหาวิทยาวิทยาลัยศิลปากร โดยเฉพาะในโรงอาหาร หรือตามเเหล่งขยะ
13. พวกผึ้ง ต่อ แตน มด พบได้ทุกที่ในมหาวิทยาวิทยาลัยศิลปากร เพราะปีกมีวิวัฒนาการดีบินได้เร็วเเละไกล เเต่สิ่งที่พบบ่อยๆคือบริเวณเเหล่งที่มีของหวานๆ

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

วิธีจับและเซตแมลง



วิธีจับแมลง



วิธีเซตแมลง

การเก็บตัวอย่างแมลง

การจับแมลง 





-สวิงจับแมลง(Sweep nets) 

ลักษณะเป็นถุงผ้ากรวยขนาดใหญ่มีด้ามถือ ขนาดลวดทำขอบประมาณเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3 เซนติเมตร ขดเป็นวงเส้นผ่าศูนย์กลาง 30-35เซนติเมตรถุงผ้าที่ใช้ควรมีลักษณะโปร่ง เนื้อละเอียด ความลึกถุงประมาณ 60-70 เซนติเมตร ด้ามถือควรมีลักษณะเบา กลม ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร วิธีการใช้จับแมลง โฉบแล้วสบัดถุงให้พับปิดเพื่อมิให้แมลงลอดออกได้






-เครื่องดูดแมลง(Aspirators) 
ประกอบด้วยขวด หลอดทดลอง หรือท่อแก้ว ที่จุกอุดมีรู 2 รู รูหนึ่งใช้สอดท่อแก้วหรือท่อยาง สำหรับดูด ฉะนั้นปลายด้านหนึ่งต้องด้วยผ้าหรือตะแกรง ส่วนอีกรูใช้เป็นทางเข้า จะสอดด้วยท่อแก้วหรือท่อยางขนาดยาว ใช้กับแมลงที่มีขนาดเล็ก เช่น เพลี้ยจักจั่น แมลงวันขนาดเล็ก

-กับดักแมลง(Traps) 
ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนกับดัก ตัวล่อ และส่วนที่ทำให้แมลงติดกับดัก ตัวล่อมีหลายประเภท เช่น แสง เหยื่อ และสารเคมี ส่วนที่ทำให้แมลงติดกับ เช่น สารเหนียว สารฆ่าแมลง

-กรวยแบบเบอร์ลิส(Berlese type funnel)


-บีตติ้งเน็ต(Beating net)
ฯลฯ



การฆ่าแมลง



ใช้ขวดฆ่าแมลง โดยใช้สารฆ่าแมลงแบ่งได้ 2 ชนิด คือ
-โปแตสเซี่ยมไซยาไนด์ (Potassium cyanide)
-เอททิลอาซีเตต (Ethyl acetate)







การเก็บแมลง 





 มี 2 ประเภท คือ การเก็บแบบชั่วคราว และถาวร
การเก็บแบบถาวรมี 3 ประเภท คือ การเก็บแห้ง การดองในน้ำยา และการทำสไลด์


-การเก็บแห้ง
เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด โดยใช้เข็มปักแมลงทางสันหลังทะลุด้านล่าง โดยหัวเข็มหมุดอยู่ห่างจากตัวแมลง 1 เซนติเมตร
การจัดแมลง แมลงขนาดใหญ่ให้กางปีกออกให้ขอบล่างปีกคู่แรกตั้งฉากลำตัว แมลงขนาดเล็ก ให้ใช้สามเหลี่ยม ความสูง 8-10 มิลลิเมตร ความกว้าง 3-4 มิลลิเมตร
ป้ายบันทึกแมลง บอกสถานที่เก็บแมลง วันที่ และชื่อผู้เก็บ
ทำให้แมลงอ่อนตัว ใช้โหลชื้นบรรจุทรายเปียกผสมกรดคาร์โบลิค ประมาณ 1-2 วัน
เก็บแห้งตัวหนอน ฆ่าหนอนในน้ำเดือด ตัดปลายรีดเอาของเหลวออก และเป่าตัวหนอน

-การดองในน้ำยา
น้ำยาที่นิยมที่สุดคือ เอทิลแอลกอฮอล์ 70-75% เพื่อป้องกันสีซีด และรูปร่างเปลี่ยนแปลง ควรทำการฆ่าตัวอ่อนก่อนดองด้วย น้ำเดือด น้ำยา K.A.A.D. น้ำยา X.A หรือ น้ำยา Kahle แล้วนำมาดองด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ 70-75% มีผู้นิยมผสม glycerine ลงไป 10% เพื่อช่วยรักษาความชื้นและป้องกันแมลงหัก เปราะ

-การทำสไลด์
ใช้กับแมลงที่มีลำตัวอ่อน หรือมีขนาดเล็ก การทำสไลด์ ต้องเอาของที่อยู่ในลำตัวออกให้หมด จัดวางลงสไลด์ซึ่งหยดน้ำยาฮอยเออร์ หรือแคนาดา บาลซัม หรือ กัมอาราบิค ปิดด้วยแผ่นสไลด์



สำหรับผู้ที่สนใจอย่างละเอียด สามารถเข้าไปดูวิธีการการสตัฟฟ์ตัวอย่างแมลง ได้ที่นี่




วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ผีเสื้อ

จัดเป็นแมลงที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสองของจำนวนแมลงทั้งหมด ลักษณะที่สำคัญคือ มีปีกแบบเมมเบรนซึ่งมีเกล็ด (Scales) หรือขน (hairs) ปกคลุมอย่างหนาแน่นจำนวน 2 คู่ การเจริญเติบโตและถอดรูปร่างเป็นแบบสมบูรณ์ ระยะตัวอ่อนมีปากแบบกัดกิน แต่ตัวเต็มวัยมีปากที่มีลักษณะเป็นงวงยาว (siphon)สำหรับดูดน้ำหวาน ตัวอ่อนหลายชนิดเป็นแมลงศัตรูพืช

1.            ผีเสื้อต้นรัก (Milkweed butterflies)
-หนวดเรียบไม่มีเกล็ด ดิสคอลเซลในปีกหลังปิด ปีก หน้า มีเส้นเอนัลที่ 3 ขาคู่หน้าสั้น เป็นผีเสื้อขนาดกลาง ตัวอ่อนเป็นศัตรูที่สำคัญของไม้ดอก เช่น ต้นรัก ต้นยี่โถ ตัวเต็มวัยออกหากินกลางวันเป็นผีเสื้อที่พบได้ทั่วๆไป
2.            ผีเสื้อหนอนเจาะไม้ (Carpenter moths, leopard moths, goat moths)
ลำตัวหนา ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ปีกหุบเข้าหาตัวแบบรูปหลังคาขณะเกาะพัก ปีกมักมีจุดหรือรอยด่างสีเข้มกระจายทั่วปีก ปีกหน้ามีเส้นปีกเอนัล 2 เส้น และมักยาวเป็น 2 เท่าของความกว้าง หนวดแบบฟันหวี ส่วนท้องยื่นเลยปีกไปมาก ตัวอ่อนเป็นศัตรูที่สำคัญทางป่าไม้ โดยเจาะกินเนื้อไม้พวกสักและไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกหลายชนิด บางชนิดก็เจาะทำลายไม้ผล เช่น มะม่วง และบางชนิดเป็นศัตรูสำคัญของกาแฟ ตัวเต็มวัยออกหากินเวลากลางคืน
3.            ผีเสื้อหนอนคืบ (Lopper, measuring worms)
ปีกมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัวที่เรียวและบอบบาง ปีกหลังมีเส้นปีกสับคอสตาหักงอเข้าไปในมุมฮิวเมอรัล ตัวอ่อนมีขาเทียมที่ท้องปล้องที่ 2 และ 10 เวลาเคลื่อนที่ส่วนอกและลำตัวงอขึ้น หลายชนิดเป็นศัตรูที่สำคัญของลำไย มะม่วง ส้ม เงาะ ตัวเต็มวัยออกหากินเวลากลางคืนและบางชนิดชอบบินเข้าหาแสงไฟ

4.         ผีเสื้อปีกใส (clear-winged moths)      
เป็นผีเสื้อที่บินได้รวดเร็ว มักหากินเวลากลางวัน ส่วนใหญ่ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ตัวอ่อนเป็นศัตรูของไม้พุ่มและไม้ใหญ่บางชนิด 


5.           ผีเสื้อหางแฉก (swallow tails)
ปีกหน้ามีเส้นปีก 8-9 เส้น โผล่จากดิสคอสเซล ปีกหลังอาจมีติ่งหาง และมีเส้นปีกเอนัลเพียงเส้นเดียว เป็นผีเสื้อขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ตัวอ่อนหลายชนิดเป็นศัตรูสำคัญของพืชตระกูลส้มเกือบทุกชนิด ตัวเต็มวัยหากินกลางวันพบได้ทั่วๆไปและส่วนมากไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ผีเสื้อหางตุ้มจุดชมพู

5.            ผีเสื้อบินเร็ว (skippers)
ปลายหนวดโค้งงอคล้ายเคียวหรือตะขอ ตัวอ้วนป้อม หัวกว้างเท่าหรือกว้างกว่าส่วนอกเป็นผีเสื้อขนาดกลาง ตัวอ่อนกินพืชหลายชนิด ชอบม้วนใบพืช เช่น ใบกล้วย ใบมะพร้าว ใบข้าว แล้วเข้าไปอาศัยอยู่ภายในพร้อมทั้งกินใบพืชไปด้วย ตัวอย่างเช่น หนอนม้วนใบกล้วย ตัวเต็มวัยบินได้เร็วมากและออกหากินเวลากลางวัน

ด้วง (Beetles)

คิดเป็น 40% ของจำนวนชนิดของแมลงทั้งหมด มีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร ไปจนถึงพวกที่มีขนาดใหญ่กว่า 10 เซนติเมตร
            ลักษณะที่สำคัญคือ มีปากแบบกัดกิน หนวดมีหลายแบบแตกต่างกันตามชนิดของด้วง มีปีก 2 คู่ ปีกคู่หน้าแข็งและหนา (elytra) ปีกคู่หลังเป็นเมมเบรนบางใส ขณะเกาะพัก ปีกคู่หน้าประกบเป็นเส้นตรงอยู่กึ่งกลางลำตัว ปีกคู่หลังพับซ้อนอยู่ใต้ปีกคู่หน้า การเจริญเติบโตและเปลี่ยนรูปร่างเป็นแบบสมบูรณ์ (complete metamorphosis) โดยทั่วไปอาหารและถิ่นอาศัยของระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยไม่แตกต่างกันมากมาย มีทั้งพวกที่อาศัยบนบกและอาศัยในน้ำ หลายชนิดกินพืช บางชนิดกินซากสิ่งเน่าเปื่อย บางชนิดกินไม้ บางชนิดเป็นตัวล่าเหยื่อ (predator) ที่ดีมาก บางชนิดกินธัญพืช ฯลฯ
1.            ด้วงน้ำ (Crawling water beetles)
คอกซาของขาคู่หลังเป็นแผ่นใหญ่ปิดส่วนท้องเกือบมิด ตัวเล็กประมาณ 5 มิลลิเมตร
2.            แมลงเหนี่ยง (Water scavenger beetle)
อกด้านล่างมีหนามยาวคล้ายศร หนวดแบบลูกตุ้มสั้นกว่าแมกซิลลารีพัลไพ ทุกระยะอาศัยอยู่ในน้ำ กินสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร พบได้ทั่วๆไป
3.            ตับเต่า (Predaceous diving beetles)
ไม่มีศรที่ท้อง หนวดแบบเส้นด้าย (Filiform) ยาวกว่าแมกซิลลารีพัลไพ ทุกระยะอาศัยอยู่ในน้ำ พบทั่วไปตามแหล่งน้ำต่างๆ ปกติว่องไวมาก กินสัตว์เล็กหรือใหญ่กว่าเป็นอาหาร
4.      ด้วงดิน (Ground beetles)
หนวดโผล่จากจุดระหว่างตาและฐานของกราม ส่วนหัวมักแคบกว่าอกปล้องแรกเล็กน้อย ส่วนใหญ่อาศัยตามผิวดิน ใต้หิน ท่อนซุง ใบไม้ เปลือกไม้ ขนาดแตกต่างกันมาก จับสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร แมลงตด สามารถปล่อยสารสำหรับป้องกันตัวประเภทออกไซด์ของไนโตรเจนออกมา เมื่อถูกผิวจะไหม้คล้ายถูกกรดไนตริค
5.            ด้วงงวง (Snout beetles)
หัวยื่นยาวออกมาคล้ายวงหนวดแบบข้อศอกยาวโผล่จากด้านข้างของงวง อาศัยอยู่บนพื้นดิน
6.            มอดแป้ง (Darkling beetles, red flour beetles)
ฐานคอกซาของขาคู่หน้าชิดกัน เล็บไม่เป็นง่าม ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ 2-35 มิลลิเมตร อาศัยบนบก มีถิ่นอาศัยแตกต่างกันตามชนิด พบได้มากทั้งชนิดและจำนวน รูปร่าง และสีแตกต่างกันมาก
7.            ด้วงเต่า (Lady Bird beetles)
เล็บมีลักษณะเป็นฟันหรือง่าม ทาร์ไซเห็นชัดแบบ 3-3-3 ส่วนหัว อยู่ใต้อกปล้องแรก ตัวนูนสีสดใส หนวดสั้นมาก อาศัยบนบก ส่วนมากกินพืชเป็นอาหาร แต่มีบางชนิดที่เป็นศัตรูพืช ได้แก่ ด้วงเต่ามะเขือ บางชนิดกินสัตว์ขนาดเล็ก
8.            ด้วงหนวดยาว (Long horned beetles)
หนวดยาวกว่าลำตัวมาก ลำตัวแคบและยาวเรียว ตาเว้า อาศัยบนบก กินพืชและสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร
9.            ด้วงก้นกระดก (Rove beetles)
ปีกแข็งสั้นมาก คลุมส่วนท้องไม่มิด หนวดแบบเส้นด้ายหรือลูกตุ้ม กรามยาวยื่นออกไปข้างนอก อาศัยอยู่ตามผิวดินกินซากเน่าเปื่อยเป็นอาหาร ชอบหลบซ่อนตามที่มืด มักจะกระดกส่วนท้องขึ้นลง บางชนิดเป็นพาหะนำโรคพยาธิในสัตว์เลี้ยงบางชนิด
10.            แมลงทับ (Woodborer, metallic beetles)
อกด้านล่างของปล้องแรกติดแน่นกับอกปล้องกลาง ไม่มีอวัยวะสำหรับดีด ลำตัววาวแววเป็นมันมีสีต่างๆ อาศัยบนบก ตัวอ่อนบางชนิดเป็นศัตรูสำคัญของป่าไม้ โดยเจาะเป็นอุโมงค์เข้าไปหลบซ่อนในเนื้อไม้หรือเปลือกไม้
11.            ด้วงกว่าง, ด้วงมะพร้าว (scarab beetles)
หนวดรูปใบไม้ประกบกันสนิท ขนาดตั้งแต่เล็กมากถึงใหญ่มาก อาศัยบนบก เป็นด้วงที่พบได้มากทั้งชนิดและจำนวนมีการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันมาก บางชนิดกินมูลสัตว์หรือซากพืชซากสัตว์บางชนิดกินพืช

หมัด

หมัด 

         

หมัด (flea) อยูในอันดับไซโฟแนพเทรา (Order  Siphonaptera)  
         - ตัวเต็มวัยมีลำตัวแบนข้างและแข็ง  หนวดสั้นเข้มอยู่ในร่องของส่วนหัว ไม่มีปีก  ไม่มีตารวม มีแต่ตาเดี่ยว ปากแบบแทงดูด  ขาคู่หลังเป็นขากระโดดทำให้เคลื่อนไหวได้รวดเร็ว ตรงบริเวณคอมีแผงขนเป็นเส้นคล้ายหวี (ctenidia) ซึ่งใช้เป็นลักษณะสำคัญในการจำแนกวงศ์

                    - เป็นตัวเบียนภายนอกของสัตว์หลายชนิด  อาจวางไข่ตามรังหรือพื้นดินใกล้สัตว์อาศัย ตัวอ่อนคล้ายตัวหนอนมีปากแบบกัดกิน กินซากอินทรีย์หรือสิ่งปฏิกูลจากตัวสัตว์  ดักแด้มีเกราะหุ้ม  เป็นพาหะนำกาฬโรค ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียพวก พาสเตอร์เรลลา เพสทิส (Pasteurella pestis) และบางชนิดยังเป็นเจ้าเรือนที่อาศัย (intermediate host) ของพยาธิตัวแบนบางชนิดและสามารถแพร่เข้าสู่คนได้

หมัด

                 - หมัดมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการในการดำรงชีวิตรอด เช่น 
1. การมีลำตัวแบนทำให้ยากแก่การที่แมลงถูกเบียนจะกำจัดออก (defensive shape)     
2. ขาคู่หลังซึ่งเป็นขากระโดดช่วยให้เคลื่อนไหวได้ดี ช่วยในการล่าเหยื่อ 
3. ผนังลำตัวที่แข็งและขนาดเล็กช่วยลดอันตรายที่อาจเกิดจากศัตรูธรรมชาติ 
4.การขยายพันธุ์จึงมักเป็นไปอย่างรวดเร็ว  

                   และเมื่อเจ้าเรือนมีเชื้อกาฬโรค     ก็จะทำให้เชื้อนี้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วด้วย โรคกาฬโรคมีหลายชนิด แต่ที่นับว่าร้ายแรงและมีหมัดเป็นพาหะได้แก่ กาฬโรคที่เรียกว่าบูโบนิค (bubonic plague) หรือที่เคยเรียกกันว่า "ไข้ดำ" (black disease or black death)   หมัดบางชนิดมีความเฉพาะเจาะจงต่อเจ้าเรือนสูงมาก เช่น อาศัยได้ในเจ้าเรือนเพียงชนิดเดียว (monoxenous)  บางชนิดก็สามารถอาศัยในเจ้าเรือนหลายชนิด (polyxenous) (ปัญหาของการเลี้ยงสัตว์หลายชนิด)


มวน

มวนเข็ม (water  boatman)  หัวยาวเท่าหรือยาวกว่าอก  ลำตัวยาวเรียวมาก อาศัยอยู่ในน้ำ  จับสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร  บางชนิดอาจชอบบินเข้าเล่นไฟเวลากลางคืน  ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
รูปที่ 1 แสดงภาพมวนเข็ม

มวนจิ้งโจ้น้ำใหญ่ (water  striders)  : ฟีเมอร์ของขาคู่หลังยื่นเลยปลายท้อง  ทาร์ไซ  2-2-2  ปากมี  4  ปล้อง อาศัยอยู่ในน้ำ  จับสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร  ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
รูปที่ 2 แสดงภาพมวนจิ้งโจ้น้ำใหญ่

จิ้งโจ้น้ำเล็ก (veliis) : ฟีเมอร์ของขาหลังไม่ยื่นเลยส่วนท้อง  ปากมี  3  ปล้องอาศัยอยู่ในน้ำ  จับสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร  ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
รูปที่ 3 แสดงภาพมวนจิ้งโจ้น้ำเล็ก