การจับแมลง
-สวิงจับแมลง(Sweep nets)
-เครื่องดูดแมลง(Aspirators)
ประกอบด้วยขวด หลอดทดลอง หรือท่อแก้ว ที่จุกอุดมีรู 2 รู รูหนึ่งใช้สอดท่อแก้วหรือท่อยาง สำหรับดูด ฉะนั้นปลายด้านหนึ่งต้องด้วยผ้าหรือตะแกรง ส่วนอีกรูใช้เป็นทางเข้า จะสอดด้วยท่อแก้วหรือท่อยางขนาดยาว ใช้กับแมลงที่มีขนาดเล็ก เช่น เพลี้ยจักจั่น แมลงวันขนาดเล็ก
-กับดักแมลง(Traps)
ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนกับดัก ตัวล่อ และส่วนที่ทำให้แมลงติดกับดัก ตัวล่อมีหลายประเภท เช่น แสง เหยื่อ และสารเคมี ส่วนที่ทำให้แมลงติดกับ เช่น สารเหนียว สารฆ่าแมลง
-กรวยแบบเบอร์ลิส(Berlese type funnel)
ฯลฯ
การฆ่าแมลง
-โปแตสเซี่ยมไซยาไนด์ (Potassium cyanide)
-เอททิลอาซีเตต (Ethyl acetate)
การเก็บแมลง
การเก็บแบบถาวรมี 3 ประเภท คือ การเก็บแห้ง การดองในน้ำยา และการทำสไลด์
-การเก็บแห้ง
เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด โดยใช้เข็มปักแมลงทางสันหลังทะลุด้านล่าง โดยหัวเข็มหมุดอยู่ห่างจากตัวแมลง 1 เซนติเมตร
การจัดแมลง แมลงขนาดใหญ่ให้กางปีกออกให้ขอบล่างปีกคู่แรกตั้งฉากลำตัว แมลงขนาดเล็ก ให้ใช้สามเหลี่ยม ความสูง 8-10 มิลลิเมตร ความกว้าง 3-4 มิลลิเมตร
ป้ายบันทึกแมลง บอกสถานที่เก็บแมลง วันที่ และชื่อผู้เก็บ
ทำให้แมลงอ่อนตัว ใช้โหลชื้นบรรจุทรายเปียกผสมกรดคาร์โบลิค ประมาณ 1-2 วัน
เก็บแห้งตัวหนอน ฆ่าหนอนในน้ำเดือด ตัดปลายรีดเอาของเหลวออก และเป่าตัวหนอน
-การดองในน้ำยา
น้ำยาที่นิยมที่สุดคือ เอทิลแอลกอฮอล์ 70-75% เพื่อป้องกันสีซีด และรูปร่างเปลี่ยนแปลง ควรทำการฆ่าตัวอ่อนก่อนดองด้วย น้ำเดือด น้ำยา K.A.A.D. น้ำยา X.A หรือ น้ำยา Kahle แล้วนำมาดองด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ 70-75% มีผู้นิยมผสม glycerine ลงไป 10% เพื่อช่วยรักษาความชื้นและป้องกันแมลงหัก เปราะ
-การทำสไลด์
ใช้กับแมลงที่มีลำตัวอ่อน หรือมีขนาดเล็ก การทำสไลด์ ต้องเอาของที่อยู่ในลำตัวออกให้หมด จัดวางลงสไลด์ซึ่งหยดน้ำยาฮอยเออร์ หรือแคนาดา บาลซัม หรือ กัมอาราบิค ปิดด้วยแผ่นสไลด์
สำหรับผู้ที่สนใจอย่างละเอียด สามารถเข้าไปดูวิธีการการสตัฟฟ์ตัวอย่างแมลง ได้ที่นี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น