แมลงปอ
แมลงปอบ้าน |
แมลงปอเข็ม แมลงปอ และ แมลงปอเข็ม จัดอยู่ในอันดับ อันดับโอโดนาตา (Order Odonata) |
- ตัวเต็มวัยมีหนวดสั้นแบบขน ตารวมขนาดใหญ่ ปากแบบกัดกิน ลำตัวยาวเรียว เป็นแมลงขนาดใหญ่ปีกแบบเมมเบรน 2 คู่ มีเส้นปีกจำนวนมาก ปีกคู่หน้ามีเส้นของปีกที่ลักษณะคล้ายรอยหยักหรือรอยต่อปีก เรียกว่าโนดัส (nodus) การจำแนกวงศ์มักอาศัยลักษณะของเส้นปีกเป็นส่วนใหญ่
- ตัวอ่อนของแมลงปอมีเรคตัล กิลล์ (rectal gill) ใช้ในการหายใจ อยู่ภายในลำตัว แต่ตัวอ่อนแมลงปอเข็มมีเหงือกลักษณะคล้ายใบไม้ (abdominal gill) อยู่ที่ปลายสุดส่วนท้อง
วงจรชีวิตแมลงปอ |
-มักพบตัวเต็มวัยบินไปมาตามแหล่งน้ำหรือบริเวณใกล้แหล่งน้ำ เป็นแมลงตัวห้ำหรือตัวล่า (predator) ที่ดี เนื่องจากเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว จับสัตว์ขนาดเล็กที่ยังเคลื่อนไหวได้เป็นอาหาร ออกหากินเวลากลางวัน
- ยังไม่มีรายงานว่าสร้างความเสียหายต่อมนุษย์ ในบางท้องที่อาจเป็นศัตรูธรรมชาติช่วยในการกำจัดแมลงศัตรูบางชนิด นอกจากนี้ยังสร้างความสวยงามให้แก่ธรรมชาติอีกด้วย (biological index ความชุกชุมของปลาในลุ่มน้ำโขง)
แมลงปอกำลังผสมพันธุ์ |
- วงศ์ที่อาจพบได้เสมอ ๆ ได้แก่ แมลงปอบ้าน (Libellulidae) แมลงปอยักษ์ (Aeshnidae) แมลงปอเข็ม (Coenagrionidae) และแมลงปอน้ำตก (Calopterygidae)
- อาจสรุปข้อแตกต่างระหว่างแมลงปอซึ่งจัดอยู่ในอันดับย่อยแอนนิซอพเทรา (Suborder Anisoptera) และแมลงปอเข็มที่อยู่ในอันดับย่อยไซกอพเทรา (Suborder Zygoptera) ได้ดังนี้ คือ
ลักษณะเปรียบเทียบ
แมลงปอ แมลงปอเข็ม
* ขนาดปีก
คู่หลังใหญ่กว่าคู่แรกมาก ขนาดของปีกทั้2 คู่ใกล้เคียงกัน
* ขณะเกาะพัก
ปีกกางออกขนานกับพื้น ปีกหุบตั้งฉากกับลำตัว
* การวางไข่ (oviposition)
วางไข่ภายนอกเนื้อเยื่อของพืชน้ำ มักวางไข่ภายในเนื้อเยื่อของพืชน้ำ
* ลักษณะตัวอ่อน (naiad)
เหงือกอยู่ที่เรคตัมภายในตัว เหงือกอยู่ส่วนปลายสุดของ ท้องมีลักษณะคล้ายใบไม้ 3 ใบ
ตัวอ่อนแมลงปอเข็ม |
ตัวอ่อนแมลงปอบ้าน |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น