ตั๊กเเตน จิ้งหรีด เเมลงสาบ
จัดอยู่ในอันดับออร์ทอพเทรา (Order Orthoptera) ประกอบด้วยแมลงในวงศ์ต่าง ๆ เช่น ตั๊กแตนหนวดยาว (Tettigonidae) ตั๊กแตนหนวดสั้น (Acrididae) จิ้งหรีด (Gryllidae) จิ้งโกร่ง (Gryllacrididae) แมงกะ ชอน (Gryllotalpidae) ตั๊กแตนตำข้าว (Mantidae) ตั๊กแตนกิ่งไม้ (Phasmatidae) แมลงสาบ (Blattidae) ในบางตำราเช่น Borrer และคณะ (1989) อาจยกวงศ์บางวงศ์ขึ้นเป็นอันดับ เช่น ตั๊กแตนกิ่งไม้เป็นอันดับฟาสมิดา (Order Phasmida) ตั๊กแตนตำข้าวเป็นอันดับแมนโตเดีย (Order Mantodea) แมลงสาบเป็นอันดับแบลททาเรีย (Order Blattaria)
ลักษณะโดยทั่วไป
- ตัวเต็มวัยมีหนวดแบบเส้นด้าย ปากแบบกัดกิน ส่วนใหญ่มีปีกที่ทำงานได้ถ้ามีปีกจะมี 2 คู่ ปีกคู่แรกค่อนข้างหนาเรียกว่า เทกเมน (tegmen) มีเส้นปีกชัดเจน
- ตัวเต็มวัยมีหนวดแบบเส้นด้าย ปากแบบกัดกิน ส่วนใหญ่มีปีกที่ทำงานได้ถ้ามีปีกจะมี 2 คู่ ปีกคู่แรกค่อนข้างหนาเรียกว่า เทกเมน (tegmen) มีเส้นปีกชัดเจน
-มีถิ่นอาศัยที่อาจแตกต่างกัน หลายชนิดเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญมาก เช่น ตั๊กแตนหนวดสั้น โดยเฉพาะพวกตั๊กแตนปาทังก้า ตั๊กแตนผี ฯลฯ แมลงสาบที่มักพบได้ในแหล่งอาศัยหลายแบบ เนื่องจากกินอาหารได้หลายชนิด (omnivorous) บางชนิดนำโรคทางเดินอาหารมาสู่มนุษย์ ก่อความรำคาญ ทำลายสิ่งของต่าง ๆ ในบ้านเรือน และเป็นที่น่ารังเกียจทั้งกลิ่นและตัว ตั๊กแตนหนวดยาว ตั๊กแตนตำข้าว ตั๊กแตนกิ่งไม้บางชนิดเป็นตัวห้ำหรือผู้ล่าช่วยทำลายแมลงศัตรู
วงษ์ต่างๆในอันดับออร์ทอพเทราที่พบในมหาวิทยาลัยศิลปากร
1. วงศ์เททริยิดี (Tetrigidae) ได้แก่ตั๊กแตนแคระ
2. วงศ์อะคริดีดี (Acrididae) ได้แก่ ตั๊กแตนหนวดสั้น
3. วงศ์เททริโกนิดี (Tetrigonidae) ได้แก่ ตั๊กแตนหนวดยาว
4. วงศ์กริลลิดี (Gryllidae) ได้แก่ จิ้งหรีด
5. วงศ์กริโลทัลบิดี (Gryllotalpidae) ได้แก่ แมลงกระชอน
6. วงศ์แบรททิดี (Blattidae) ได้แก่ แมลงสาบ
7. วงศ์ฟาสมาทิดี (Phasmatidae) ได้แก่ ตั๊กแตนกิ่งไม้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น